12 วิธีเพื่อความจำเป็นเลิศ (Health plus)
ไม่รู้เป็นยังไง เรื่องสำคัญ ๆ ในชีวิตที่อยากจำกลับลืมทุกที แต่ด้วยเคล็ดลับ 12 ประการต่อไปนี้จะช่วยหยุดความจำที่ชอบเล่นไม่ซื่อกับคุณ คราวนี้ คุณก็ไม่ต้องพึ่งกระดาษโน้ตช่วยเตือนความจำอีกต่อไป
ประสิทธิภาพในด้านความจำจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุย่างเข้า 25 นั่น เพราะเซลล์ความจำเริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ ปีละ 1% และยิ่งเสื่อมเร็วมากขึ้น เมื่ออายุเข้า 50 รู้แล้วก็อย่าตื่นตระหนก เพราะมีวิธีมากมายที่จะช่วยให้คุณมีความจำดีเยี่ยม ทีนี้จำได้แม่นยำเลยว่าวางกุญแจรถไว้ตรงไหน
ความจำในสมองประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกเรียกว่าความจำระยะยาวและความจำระยะสั้น "ความจำระยะยาวเป็นที่ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในชีวิต ข้อมูลเหล่านี้ยากที่จะถูกทำลาย หรือลบเลือนไป" โดมินิก โอเบรียน แชมป์โลกด้านความจำ 8 สมัยซ้อนอธิบาย "ความจำระยะยาวประกอบไปด้วย procedural memories เป็นความจำที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ขี่จักรยาน และ episodic memories เป็นความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราเอง เช่น ช่วงเวลาให้กำเนิดบุตร"
ความจำระยะสั้นเป็นความจำช่วงสั้น ๆ เช่น การจำเบอร์โทรศัพท์สามารถจำได้นานพอที่จะกดเบอร์ได้ หรือจำอาหารที่กินตอนเช้าได้ โดยเราจะบันทึกข้อมูลนั้นลงบนพื้นที่ว่างในสมองทันที ดังนั้นถ้าต้องการเก็บข้อมูลนั้นไว้ในสมองให้นานขึ้น คุณต้องถ่ายโอนข้อมูลดังกล่าวไปยังส่วนที่เป็นความระยะยาว ซึ่งคุณสามารถเสริมสร้างศักยภาพในการเข้าถึงความจำระยะยาว และเรียกข้อมูลนั้นกลับมาใช้ได้
ความจำเสื่อมเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น คุณสามารถเสริมสร้างความจำให้จดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยการบริหารสมอง "ทุกครั้งที่ได้รับข้อมูลใหม่ ส่วนของเซลล์ความจำที่มีลักษณะปลาหมึกยักษ์จะยื่นออกมา และสร้างโครงข่ายใหม่ทำให้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นทุกครั้งที่เรียนรู้" โดมินิกอธิบาย ดังนั้นเมื่อหยุดให้สมองจดจำข้อมูลใหม่ ๆ เซลล์ความจำก็จะหยุดสร้างโครงข่าย และข้อมูลเหล่านี้ก็จะหายไปในไม่ช้าด้วย "เมื่ออายุมากขึ้น เราผ่านโลกมามากขึ้น และคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ เป็นอย่างดี ทำให้เราหยุดท้าทายสมองตัวเอง"
ดังนั้นอย่าให้ร่างกายและสมองหยุดนิ่ง ควรทำตัวให้กระตือรือร้นและว่องไว การศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ จะช่วยกระตุ้นให้เซลล์สมองได้ทำงานอย่างเต็มที่
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดต่ำลง มีส่วนทำให้ความจำลดความแม่นยำลง นักวิจัยในแคนาดาได้ทดสอบความจำของผู้หญิงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงภายหลัง ตัดมดลูกทิ้ง พบว่าความจำแย่กว่าผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดประจำเดือน (hormone replacement therapy-HRT) เชื่อกันว่า HRT ช่วยป้องกันความจำเสื่อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไคลฟ์ เอเวอร์แห่ง the Alzheimer’s Society กล่าว "ผู้หญิงที่ได้รับ HRT จะลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์เมื่อเข้าสู่วัยชรา"
หากไม่อยากพึ่งวิธี HRT คุณก็สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ โดยการกินอาหารที่มีสารของพืช ซึ่งมีคุณลักษณะเหมือนเอสโตรเจน ได้แก่ อาหารจากถั่วเหลือง ลินสีด และถั่ว pulse (คือถั่วที่มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ สะสมพลังงานในรูปของคาร์โบไฮเดรตและเมล็ดมีแป้งสูง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ฯลฯ) เป็นแหล่งไฟโตเอสโตรเจน
คนที่ขี้หลงขี้ลืมไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด อย่าเพิ่งตื่นตกใจ ถ้าคุณลืมโน่นลืมนี่เป็นประจำ "ความจำเสื่อมเล็กน้อยไม่ใช่ปัญหา ถ้าไม่ได้เป็นถาวรหรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดจี๊ด ๆ หรือมีความผิดปกติทางสายตา" มาร์ค แอตคินสัน ผู้เชี่ยวชาญของ Health Plus กล่าว "อย่าเพิ่งสันนิษฐานว่าตัวเองเป็นโรคความจำเสื่อม เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากการขาดเกลือแร่และวิตามิน หรือเป็นผลจากยา ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด"
ถ้าคุณหลงลืมเป็นประจำเช่น จำไม่ได้ว่าวางกุญแจรถไว้ที่ไหน คำพูดติดอยู่ที่ปาก แต่คิดไม่ออก ลืมของไว้ที่ร้าน ต้องย้อนกลับไปเอา หรือลืมชื่อคนอยู่เป็นประจำ เหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณต้องเสริมสร้างความจำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคสมองเสื่อมตามมา "ตามธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะอ่อนแอลง ไม่มีเรี่ยวแรงเหมือนก่อน สมองก็เช่นกัน โดยเฉพาะอาการหลงลืมจะส่งผลต่อความจำระยะสั้น" ดร.โจ อิดดอน ผู้เชี่ยวชาญด้านความจำกล่าว ข่าวดีคือคุณสามารถเสริมสร้างความจำให้เป็นเลิศไทยด้วย 12 วิธีต่อไปนี้
ผล การศึกษาอีกอย่างพบว่า อาสาสมัครที่รับประทานแคปซูลสมุนไพรเลมอนบาล์ม สามารถทำแบบทดสอบความจำทางคอมพิวเตอร์ได้คะแนนดีกว่าคนที่ไม่ได้ทาน
ถ้าคุณสงสัยว่าตัวเองขี้หลงขี้ลืมมากผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นโรคต่อไปนี้หรือไม่ :
ที่มา http://health.kapook.com/view10210.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น