ขมิ้นอ้อย
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก csamunpri.com , diokorat.in.th
ขมิ้นอ้อย เป็นสมุนไพรที่หลายคนรู้จักกันดี โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามแต่ละภาค คือถ้าเป็นภาคกลางจะเรียก "ว่านเหลือง" ถ้าเป็นภาษาละว้าจะเรียก "สากเบือ" ภาษาเหนือเรียก "ขมิ้นขึ้น" เชียงใหม่เรียก "แฮ้วดำ" ภาษาเขมรเรียก "ละเมียด"
วันนี้กระปุกดอทคอม นำสรรพคุณของขมิ้นอ้อยมาบอกให้ทราบกัน ขอบอกว่าประโยชน์ครอบจักรวาลจริง ๆ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe
ชื่อสามัญ : Zedoary, Luya-Luyahan
วงศ์ : Zingiberaceae
ต้น : ขมิ้นอ้อย เป็นไม้ล้มลุกสูง 50-70 ซม. ลักษณะคล้ายขมิ้นชัน แต่ต้นสูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยเหง้าใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย มีเนื้อในสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกสีนวล มีกลิ่นหอม
ใบ : ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 8-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. ท้องใบจะมีขนนิ่ม ๆ ในหน้าแล้งใบจะแห้งลงหัว บางครั้งเราก็เรียกว่าขมิ้นหัวขึ้น
ดอก : ขมิ้นอ้อยจะออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกยาวพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกจะมีใบประดับ ดอกมีสีขาว ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพู ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นข้างบน และจะบานครั้งละ 2-3 ดอก
ขมิ้น อ้อย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เหง้ามาปลูก การปลูกขมิ้นอ้อยที่ดีที่สุด ควรปลูกราว ๆ เดือนพฤษภาคม ย่างเข้าฤดูฝน และไม่ควรให้น้ำขังจะทำให้เหง้าขมิ้นเน่าเสีย ในหน้าหนาวขมิ้นอ้อยจะมีต้นโทรมหัวใหญ่
ขมิ้นอ้อย
ทั้งนี้ นอกจากจะนำขมิ้นอ้อยมาใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เช่น ข้าวเหนียวเหลือง ขนมเบื้องญวน ได้ แถมยังนำมาย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีก
เห็นไหมว่า ประโยชน์ใช้สอยของ "ขมิ้นอ้อย" มีมากมายเลยทีเดียว ทีนี้ใครมีอาการอะไรที่กล่าวมาข้างต้น ก็ปลูกขมิ้นอ้อยไว้ใช้รักษาด้วยตัวเองได้เลย
ที่มา http://health.kapook.com/view16277.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น