Toey^^

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

CTS โรคพังผืดกดทับเส้นประสาท


CTS ย่อมาจาก Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อในภาษาไทยเรียกว่า

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาท โรคนี้ หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นหูนัก แต่เชื่อว่า

ต่อจากนี้ไป จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะ

ผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ควรจะทำความ

รู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิด หรือการตรวจพบแต่เนิ่น ๆ

จะทำให้การรักษาได้ผลดีที่สุด ไม่เสี่ยงต่อความพิการหรือกล้ามเนื้อถูกทำลาย

อย่างถาวร



โรค CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve)

ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ และรับความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง จนถึงครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่

บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ ซึ่งบริเวณข้อมือนั้นจะต้องลอดช่องอุโมงค์ที่เรียกว่า

Carpal Tunnel เมื่ออุโมงค์นี้แคบลงจากสาเหตุต่าง ๆ หรือพังผืดที่บริเวณอุโมงค์

ข้อมือหนาตัวขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาท หรือข้อมือได้รับแรงกดทับซ้ำแล้วซ้ำเล่า

จึงทำให้เป็นที่มาของโรคนี้

สาเหตุของโรคเกิดจาก

1. การใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ อย่างเช่นคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้เมาส์

โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน การกดแป้นคีย์บอร์ด การเย็บผ้า การถักนิตติ้ง ฯลฯ

2. การใช้ข้อมือที่มีการงอมือเป็นเวลานาน เช่น การกวาดบ้านนาน ๆ การรีดผ้า

การหิ้วถุงที่มีการงอข้อมือ ฯลฯ

3. การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้นและการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภท

ต่าง ๆ พนักงานโรงงาน งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรืองานคอนกรีต

4. คนที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อปลายประสาท เช่น เบาหวาน รูมาตอย ไทรอยด์

โรคข้ออักเสบในหญิงตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอด ภาวะบวมน้ำจากโรคไตและตับ

5. การที่พังผืดหนาตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะมาจากสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น เพศหญิง

มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในหญิงวัยกลางคน

6. ลักษณะของโครงสร้างของข้อมือที่ผิดปกติ หรือแม้แต่กรรมพันธ์ก็เป็นสาเหตุได้

7. เกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บหรือกระดูกหักบริเวณข้อมือ เช่น การหกล้ม

รถชน

8. สาเหตุทางทุติยภูมิอื่น ๆ เช่น มีเยื่อหุ้มรอบเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้มี

ความดันสูงขึ้น โดยพังผืดไม่จำเป็นต้องหนาขึ้นก็ได้


อาการที่สังเกตุได้

ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ชา ร้อน ตั้งแต่บริเวณข้อมือจนถึงปลายนิ้ว ซึ่งมักมีอาการบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หรือในบางรายอาจมีอาการได้ทั้งฝ่ามือ

และอาจจะปวดไปจนถึงไหล่ หรือรู้สึกเสียวคล้ายถูกไฟช๊อต กลุ่มอาการต่าง ๆ

เหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดหลายอย่างร่วมกัน จะรู้สึก

ได้เมื่อทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การขับรถ การทำงานบ้าน การนั่งดูทีวีหรือ

การอ่านหนังสือ ฯลฯ อาการปวดจะมีมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานในลักษณะการเกร็ง

อยู่นาน ๆ ได้แก่ การจับมีด กรรไกร งานช่างที่ใช้ค้อนหรือใช้เครื่องมือที่มีแรง

สั่นสะเทือนตั้งแต่เครื่องเป่าผม จนถึงเครื่องเจาะกระแทกคอนกรีต และมักจะ

เกิดขึ้นบ่อยในตอนกลางคืน ถ้าเส้นประสาทยิ่งถูกกดทับมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะทำ

ให้เกิดอาการอ่อนแรงของมือ หยิบจับสิ่งของลำบาก หรือถือของหล่นบ่อย ๆ และ

จะรุนแรงถึงขึ้นปวดร้าวไปทั้งแขน ตลอดจนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือลีบเล็ก


ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของมือลดลงตามไปด้วย


การป้องกัน

1. หลีกเลี่ยงการใช้งานที่เป็นอันตรายต่อข้อมือ หรือลดการใช้งานข้อมือท่าเดิมเป็น เวลานาน ๆ

2. หากต้องทำงานที่มีการกระแทกโดยตรงบริเวณข้อมือ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยลด

การกระแทกนั้น

3. คนที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อปลายประสาท ควรติดตามอาการและควบคุม

อย่างใกล้ชิด

4. การออกกำลังกายข้อมืออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อต่าง ๆ มีความแข็งแรง

5. การกินอาหารให้ครบห้าหมู่ หรือกินวิตามิน B เสริม และต้องไม่เครียด

จะช่วยป้องกันการหนาของพังผืดได้

6. หากเริ่มมีอาการมือชา และไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

วิธีการรักษา

1. การรักษาแบบเบื้องต้นแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

(1) หากเกิดอาการชาเพียงอย่างเดียว แพทย์มักจะแนะนำให้ปรับท่าทาง

การใช้มือ ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการออกแรงของมือหรือหลีกเลี่ยงการ

ใช้งานมือนั้นสักพักหนึ่งเพื่อให้มืออยู่ในท่าปกติ เป็นการช่วยลดอาการ

บวมของอุโมงค์บริเวณข้อมือ และลดความกดดันที่เกิดกับบริเวณเส้น

ประสาทลง รวมทั้งให้รับประทานยาแก้อักเสบ

(2) มีอาการชามากขึ้นและมีการปวดร่วมด้วย แพทย์จะแนะนำให้รับประทาน

ยาควบคู่ไปกับการใส่เฝือกพยุงข้อมือ เพื่อให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ตรง ๆ

จะมีความดันในโพรงข้อมือต่ำสุด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงประสาท

ดีขึ้น หากพังผืดยังไม่หนามาก จะได้ผลค่อนข้างดี

(3) ถ้าชาและมีอาการปวดมาก แพทย์จะฉีดยาแก้อักเสบ (เป็นยาชาผสมกับ

ยาสเตียรอยด์) ที่โพรงข้อมือร่วมกับการรับประทานยา แต่ถ้าหากว่า

ไม่ได้ผลก็ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

(1) การผ่าตัดแบบเปิด แพทย์จะทำการผ่าตั้งแต่ข้อมือถึงฝ่ามือ ซึ่งแผล

จะยาวประมาณ 5 6 ซม. เพื่อเอาตัวพังผืดออกมา ทำให้เส้นประสาท

ไม่ถูกกดทับ หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแผล มือบวม

ต้องใช้เวลาประมาณ 2 3 อาทิตย์ แผลจึงจะหายพอที่จะทำงานเบา ๆ ได้

และจะกลับมาเป็นปกติประมาณ 3 เดือน

CTS3

(2) การผ่าตัดแบบเปิดแผลจำกัด วิธีนี้จะเปิดแผลประมาณ 1.5 ซม. ที่ฝ่ามือ

และสามารถตัดพังผืดออกได้เช่นเดียวกับวิธีแรก แต่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ

ในการตัด วิธีนี้จะมีแผลที่เล็กกว่า ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น

(3) การผ่าตัดผ่านกล้อง เป็นการผ่าตัดภายใต้กล้องส่องซึ่งจะแสดงภาพ

อวัยวะภายในบริเวณข้อมือทางจอภาพ นับเป็นความก้าวหน้าใหม่ในการ

รักษา แพทย์จะดูทางจอภาพและตัดพังผืดโดยใช้ใบมีดที่อยู่ปลายเครื่องมือ

ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องผ่าตัดผ่านผิวหนังและกล้ามเนื้อของข้อมือเลย ผู้ป่วยจึง

สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้หลังจากผ่าตัดประมาณ 3 วัน และสามารถ

ไปทำงานได้ภายใน 7 วัน เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กมากและหายเร็วกว่า

การผ่าตัดแบบเปิด เมื่อแผลหายสนิทดีแล้วรอยแผลจะหายไปในรอยพับ

ของข้อมือ

ที่มา http://meesara.igetweb.com/index.php?mo=3&art=243615

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น